วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตะไคร้




 ตะไคร้

              
                                                                     
                                                                               
         ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Doragag Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ขี้ไคร้ (อินดี้-สกา) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
สรรพคุณของตะไคร้

มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ (หัวตะไคร้)
ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้
ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ

อ้างอิง : wikipedia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น